ASP.Net Core

ASP.NET CORE WEB API ตอนที่ 2 การสร้าง Controller

ASP.NET CORE WEB API ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 1 การสร้างโปรเจ็ค) ได้ทดลองสร้างและ run เว็บแอปปลิเคชั่นในตอนนี้ จะเป็นการเพิ่ม controller เข้ามาในโปรเจ็ค ผลก็คือทำให้โปรเจ็คมี Path เพิ่มเติมขึ้นมาตามที่เราระบุ

รู้จัก Controller กันก่อน

Controller คือส่วนที่มีหน้าที่บริหารจัดการ request ที่ผู้ใช้งานติดต่อมายัง application ของเรา โดยการรับคำสั่ง (เช่นผู้ใช้งานพิมพ์ url ใน browser แล้วกด enter เพื่อเรียกเว็บ) แล้วทำงาน (Action) โดยอาจจะส่งไปหา Model หรือ View เพื่อส่งค่ากลับไปยังผู้ใช้งาน

ขั้นตอนการสร้าง controller ใน ASP.NET CORE WEB API

เพื่อให้เห็นภาพในการทำงาน เราจะทำการเพิ่ม controller เข้าไปยังโปรเจ็คที่เราเคยสร้างไว้ในตอนที่แล้ว โดยใน

1. คลิกขวาที่ Folder controller จากนั้นเลือก Add controller

2. เลือก API Read write

3 กำหนดชื่อ โดยชื่อที่กำหนดนี้จะเป็นชื่อที่ใช้ใน URL และจะต้องมีคำว่า controller ต่อท้ายด้วย ในตัวอย่างกำหนดเป็น StudentsController

4.ตอนนี้เราจะมีไฟล์ controller เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

5. ทำการ modify ข้อความสักเล็กน้อย

6. รันโปรเจ็ค โดยกดปุ่ม ISS Express จากนั้นพิมพ์ url โดยระบุชื่อ controller ของเรา จะเห็นว่าโปรแกรมของเราจะคืนค่ามายังเว็บ browser แล้วครับ

Controller กับ Application Path ใน ASP.Net CORE project

การกำหนด path ของโปรแกรมนั้น จะกำหนดในไฟล์ controller โดยจะมี code [Route(“api/[controller]“)] ระบุอยู่

ถ้าเราต้องการ Modify path ตามใจเรา เราก็แก้ไขตรงส่วนนี้ได้ เช่น แก้เป็น [Route[“myAPI/V2/[controller]”)] อย่างนี้เป็นต้น เมื่อผู้ใช้งานเรียกใช้ ก็ต้องระบุ path url เป็น http://localhost:/myAPI/V2/ชี่อcontroller ก็จะวิ่งไปหาไฟล์ controller ของเราได้ครับ

วิธีเปลี่ยน controller ตั้งต้นหรือ url ตั้งต้น ของโปรเจ็คเรา

หากเรารันโปรแกรมจะเห็นว่า มันจะวิ่งไปที่ https://localhost:44332/api/values เป็นที่แรก หากเราต้องการเปลี่ยนไปที่ controller ที่เราต้องการก็สามารถทำได้ โดยไปแก้ไขที่ไฟล์ launchSetting.json เป็นค่าที่เราต้องการได้ครับ

สรุป

สำหรับตอนนี้จะเห็นว่า เราได้ทำการเพิ่ม controller เข้ามายังโปรเจ็ค ซึ่ง controller มีหน้าที่ในการรับคำสั่งหรือรับ request จาก user แล้วนำมาประมวลผลหรือส่งต่อไปยัง view หรือ model เพื่อ ส่งค่าคืนกลับไปให้กับ user อีกทีครับ

สำหรับตอนนี้ สวัสดีครับ

ติดตามบทความเกี่ยวกับ coding ได้ที่นี่ https://www.mifasoft.com/category/article/coding/

ติดตามความเคลื่อนไหน mifasoft ผ่านทาง facebook fan page : www.facebook.com/mifasoft

SwiftUI App Scene และ View ใช้สร้าง app ได้ทั้งแอปแล้ว

ในงาน wwdc 2020 ได้ประกาศว่า SwiftUI สามารถนำมาสร้าง App ทั้ง app โดยไม่ต้องพึ่งพา framework อื่นๆ ได้แล้ว ซึ่งแต่เดิมตอนเปิดตัวในปี 2019 นั้น swiftUI ยังต้องพึ่งพา framework อื่นๆ ...
อ่านเพิ่มเติม

Some Keyword ใน SwiftUI คืออะไร และใช้เพื่ออะไร

Some Keyword ใน SwiftUI นั้น เป็น keyword ที่เริ่มมีในภาษา swift version 5.1 เป็นต้นมา ซึ่งหากดูในเอกสารของ swift.org แล้ว จะอยู่ในส่วนของหัวข้อ Opaque Type การระบุ keyword ...
อ่านเพิ่มเติม

Swift Grammar – วิธีอ่านเอกสารอ้างอิงของ swift ให้เข้าใจ

ในเอกสารอ้างอิงของภาษา swift บนเว็บไซต์ swift.org นั้น จะมีการเขียนการใช้งานภาษา swift ในรูปแบบแบบมาตรฐานเรียกว่า Swift grammar (เหมือน grammar การใช้งานภาษาอังกฤษ) การรู้จักกับแกรมมาของภาษา swfit จะช่วยให้อ่านเอกสารอ้างอิงได้เข้าใจมากขึ้น Swift Grammar notation คำนิยาม ...
อ่านเพิ่มเติม

Decorator pattern คืออะไร

Decorator pattern คือรูปแบบการเขียนโปรแกรมให้สามารถเพิ่มความสามารถให้กับ object โดยไม่ต้องแก้ไข class โดยเราสามารถ instantiate new class เข้าไปยัง object ของ class เดิม เพื่อเพิ่มเติมความสามารถให้มากขึ้นโดยไม่ต้องแก้ไข code ของ class เดิมเลย ดูตัวอย่างการเรียกใช้ ...
อ่านเพิ่มเติม

c# sealed class คืออะไร

c# sealed class คือการทำให้ class ไม่สามารถสืบต่อได้อีกต่อไป การประกาศ Class ให้เป็น sealed class เราจะใส่ Keyword sealed ไว้ที่ class ก็จะทำให้ class กลายเป็น sealed ...
อ่านเพิ่มเติม

You may also like